Movatterモバイル変換


[0]ホーム

URL:


ข้ามไปเนื้อหา
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
ค้นหา

เคลวิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่เคลวิน (แก้ความกำกวม)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก
หาแหล่งข้อมูล: "เคลวิน" – ข่าว ·หนังสือพิมพ์ ·หนังสือ ·สกอลาร์ ·JSTOR
(เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
เคลวิน
เทอร์มอมิเตอร์ที่มีเครื่องหมายเป็นองศาเซลเซียสและเคลวิน
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI)
เป็นหน่วยของอุณหภูมิ
สัญลักษณ์K 
ตั้งชื่อตามวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1
การแปลงหน่วย
1 K ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   หน่วยเอสไอ   x − 273.15 °C
   หน่วยอังกฤษ/ธรรมเนียมสหรัฐ   1.8 ( x − 273.15) + 32 °F
   องศาสัมบูรณ์อังกฤษ/สหรัฐ   1.8 x °Ra

เคลวิน (อังกฤษ:kelvin, สัญลักษณ์:K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษวิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อแม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์สกอตแลนด์

เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่าศูนย์สัมบูรณ์ (0 K)

อุณหภูมิของสี

[แก้]
ดูเพิ่ม:ค่าคงตัวของชเต็ฟฟัน–บ็อลทซ์มัน

เคลวินมักใช้เป็นมาตรวัดของอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสง อุณหภูมิของสีอยู่บนหลักการที่ว่าวัตถุดำจะเปล่งแสงที่มีการกระจายความถี่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของอุณหภูมิของมัน วัตถุสีดำที่อุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ4000 K จะมีสีแดงและถ้าสูงกว่า7500 K จะออกสีน้ำเงิน สีของอุณหภูมิมีความสำคัญในด้านของการฉายภาพ และการถ่ายภาพ ซึ่งอุณหภูมิของสีประมาณ5600 K จำเป็นสำหรับฟิล์มถ่ายรูปในตอนเช้า ในดาราศาสตร์การแบ่งแยกดวงดาว ของดาวและสถานที่บนแผนภาพของแฮร์ทสชปรุง–รัสเซลล์ ส่วนนึงขึ้นอยู่กับอุณหภมิพื้นผิวของพวกดาว ซึ่งเรียกกันว่าอุณหภูมิยังผล ยกตัวอย่าง เช่น ชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ มี อุณหภูมิยังผล ประมาณ5778 K

กล้องดิจิทัล และ โปรแกรมรูปภาพส่วนใหญ่ใช้ อุณหภูมิของสีในหน่วย เคลวิน ใน การแก้ไข (edit) และ เซ็ทอัพเมนู (setup menus) หลักการอย่างง่ายๆคือ ยิ่งสีที่มีอุณหภูมิสูง จะสามารถสร้างรูปภาพที่มีเฉดสีของ สีขาวและสีน้ำเงินสดขึ้น หากอุณหภูมิของสีลดลงจะส่งผลให้รูปภาพมีสีแดงเป็นสีเด่น"สีอุ่น"

มาตรวัดอุณหภูมิ
หน่วยฐาน
หน่วยฐานเอสไอทั้ง 7
หน่วยอนุพัทธ์
หน่วยที่ยอมรับให้ใช้
แก่ระบบเอสไอ
ดูเพิ่ม
Stub icon

บทความฟิสิกส์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=เคลวิน&oldid=11936763"
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่:

[8]ページ先頭

©2009-2025 Movatter.jp